ดร.สุภัททา ปิณฑะแพทย์

Dr.Supatta Pinthapataya

email: supattapin@yahoo.com







รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นครูแก่นักศึกษาครูในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

 ผู้ศึกษาวิจัย
ผศ. ดร. สุภัททา ปิณฑะแพทย์

 หลักการและเหตุผล

ในกระบวนการของการปฏิรูปการศึกษานั้น การปฏิรูปหลักสูตรเพื่อการผลิตครูเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัญหาด้านผลิตครูที่เป็นปัญหาหลักที่สำคัญอันหนึ่งคือ คุณภาพหลักสูตรวิชาชีพครูซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ กระบวนการการผลิตครู จึงต้องสร้างครูที่มีจิตและวิญญาณของความเป็นครูเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ๒๕๔๗ กำหนดให้ต้องมีการฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ครูในสถานศึกษาเพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับความเป็นครู สิ่งที่สถาบันฝึกหัดครูจำเป็นจำต้องให้ความเอาใจใส่คือกระบวนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นครูได้ เนื่องจากการเป็นครูนั้นต้องเป็นด้วยจิตและวิญญาณ ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพครูควรที่จะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และมีความต้องการที่จะทำหน้าที่ครูให้เต็มความสามารถ

การศึกษาแนวคิดในการวางกระบวนการเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นครูให้แก่นักศึกษาครูในระหว่างที่ทำการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันและขณะปฏิบัติงานในสถานศึกษาจะทำให้ได้แนวทางที่หลากหลายที่จะสามารถนำมาเป็นประโยชน์ต่อสถานบันผลิตครูได้

การปลูกจิตสำนึกความเป็นครูนั้นอยู่กระบวนการที่จะสร้างให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเป็นครูจากครูที่ดี ทำให้ได้รับการแทรกซึมความรู้สึกเข้ามาในจิตใจ ควรที่จะเป็นลักษณะการเริ่มต้นที่ดี สร้างความประทับในในตัวต้นแบบ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ต้องการที่แสวงหากระบวนการที่เป็นขั้นตอนในการดำเนินภารกิจในการปลูกฝังผู้เรียนให้มีจิตสำนึกความเป็นครูได้อย่างสมบูรณ์ มีความเหมาะสมและและมีความยั่งยืน (จากการสัมภาษณ์ เอกวิทย์ ณ ถลาง พฤศจิกายน 2546)

 วิธีการดำเนินการ

การศึกษากระบวนการในการปลูกจิตสำนึกความเป็นครูเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้แนวทางจึงได้กำหนดขั้นตอนไว้ ดังนี้

  • ประชุมกลุ่มนักการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อแสวงหารูปแบบของกระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นครู

  • ศึกษาคุณลักษณะของความเป็นครู ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ครูแห่งชาติและ ครูต้นแบบ แบบกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)

  • ใช้กิจกรรมจำลองสถานการณ์

  • จัดแบ่งกลุ่มตามคุณลักษณะของครูดีสร้างกิจกรรม

  • สร้างรูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นครู

  • นำมาทดลองกับกลุ่มนักศึกษาครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

  • ประเมินผลการทดลองเพื่อการปรับปรุง

  • นำเสนอรูปแบบและขั้นตอนของกระบวนการที่สมบูรณ์

กลุ่มตัวอย่าง

  • นักศึกษาครูที่ลงทะเบียนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วม

  • อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยง

  • ครูแห่งชาติ ครูต้นแบบ

  • ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา

ระยะเวลาในการดำเนินการ

                ๑ ปี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ให้นักศึกษาและผู้ร่วมฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีในการเป็นครูมืออาชีพอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม

  • ได้รูปแบบและกระบวนการในการเพื่อสร้างสร้างจิตสำนึกความเป็นครูในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

© Copyright 2011. All rights reserved. Contact: supattapin@yahoo.com